หน้าแรก
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ติดต่อเรา
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ท่าศาลาเมืองน่าอยู่
แหล่งท่องเที่ยว อำเภอท่าศาลา
นครศรีธรรมราช
อุทยานแห่งชาติเขานัน
หาดสระบัว
ห่างจากอำเภอท่าศาลา 30 กม. ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล และกิ่งอำเภอนบพิตำ นอกจากนี้อุทยานฯ ยังมีอาณาเขตที่ครอบคลุม เขาป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานัน และเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิงบางส่วน อุทยานฯ แห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 436 ตรกม. ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
เป็นแนวติดต่อมาจากอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นป่าต้นน้ำของคลองหลายสาย การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 จนข้ามคลองกลายผ่านบ้านสระแก้ว อำเภอท่าศาลา หลักกม.ที่ 110 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านปากเจา เข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ อีก 15 กม. ภายในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่
น้ำตกสุนันทา
เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความงดงามตามธรรมชาติ สายน้ำไหลจากหน้าผาชันลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างและไหลลงสู่ลำคลองกลาย ลำน้ำสายสำคัญในเขตอำเภอท่าศาลา สามารถจัดกิจกรรมล่องแพตามลำน้ำได้ในช่วงฤดูน้ำหลาก
น้ำตกกรุงนาง
เป็นน้ำตก 3 ชั้น ขนาดกลาง แต่ละชั้นสูงประมาณ 30 เมตร ตั้งอยู่ที่บ้านสวนปราง แยกจากเส้นทางไปบ้านปากลง เป็นทางลูกรังใช้ได้ตลอดปี
น้ำตกคลองปาว
เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ เป็นต้นกำเนิดของคลองกลาย ตลอดลำคลองกลายมีโขดหินสวยงาม การเดินทางใช้เส้นทางไปบ้านปากลงเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขานันที่ ขน. 1 (คลองกลาย) ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเดินเท้าต่อประมาณ 1 กม.ถึงน้ำตก ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ตั้งเต๊นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าหรือติดต่อที่อุทยานฯ ด้วยตนเองได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขานัน ตู้ ป.ณ. 51 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
หาดสระบัว
ห่างจากอำเภอเมือง 20 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 401 มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังไปถึงชายหาดลักษณะชายหาดเป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้ ประกอบด้วยหาดสวรรค์นิเวศน์ หาดจันทร์เพ็ญ หาดสันติสุข หาดปากน้ำท่าศาลา หาดสระบัว หาดบ้านหน้าทัพ หาดบ้านปากพะยิง และหาดปากน้ำปากนคร แต่ที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุดคือ หาดสระบัว บริเวณหาดสระบัวน้ำทะเลค่อนข้างขุ่นและมีตะกอนโคลน ไม่เหมาะกับ การเล่นน้ำทะเล แต่ได้รับความนิยมพอสมควรเนื่องจากอยู่ใกล้ตัวเมืองนครฯ มากที่สุด
โบราณคดีวัดโมคลาน
อยู่ในเขตตำบลดอนคา ห่างจากตัวอำเภอ 10 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 401 ถึงบ้านหน้าทัพเลี้ยวซ้าย เข้าทางหลวงสาย 4022 อีก 6 กม. เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานของพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 หลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ แนวเสาหิน หินแกะสลักรอบประตูอาคารธรณีประตู ชิ้นส่วนโยนิและศิวลึงค์ สระน้ำโบราณ แท่นตั้งเทวรูป ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 251
8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น